Shoppertainment เมื่อพฤติกรรมเปลี่ยน เทรนด์การช็อปปิ้งก็เปลี่ยนตาม

Your Opinion
Published: 12.01.23

Shoppertainment

Shoppertainment เทรนด์การตลาดแบบใหม่ เมื่อลูกค้ายุคใหม่ซื้อของเพราะ Emotional ไม่ใช่แค่ Function อีกแล้ว กลายเป็นอีกขั้นของการสร้างประสบการณ์ผ่านโลก E-commerce 

 

Shoppertainment = Shopping + Entertainment หรือก็คือ ประสบการณ์ช็อปปิ้งรูปแบบใหม่ที่เชื่อมโยงทางอารมณ์กับผู้บริโภคด้วยความบันเทิง ลูกค้าจึงไม่ได้ซื้อสินค้าเพราะการใช้งานอย่างเดียว แต่ซื้อเพราะความสนุก ซึ่งเน้นไปที่ Transaction หรือแบรนด์ที่ Inspire, Indulge และสร้าง Emotional ได้ โดยแบรนด์ที่มอบความ Convenient ให้ ลูกค้าก็จะซื้อมากกว่า แต่แบรนด์ที่มอบความเฉิดฉายลูกค้าจะยิ่ง Impact และมีแนวโน้มเป็นลูกค้าในระยะยาว (Loyal Cystomer) 

ประสบการณ์ช็อปปิ้งแบบนี้มักมาจากรูปแบบ 3 ประเภทคือ 

-Live Event 

-Video Content ที่สามารถกดซื้อได้เลย

-Product Showcase (Line, IG shop)

ทั้ง 3 รูปแบบนี้เป็นแพทเทิร์นที่คนยุคใหม่สนใจ คือไม่ต้องเสิร์ชแต่กดสั่งซื้อได้เลย แน่นอนว่ารูปแบบที่มาแรงเป็นกระแสที่ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่นี้อย่างเช่น TikTok ถือว่าได้ผลลัพธ์ดีมาก และเข้ามาเปลี่ยนเทรนด์การช็อปปิ้งให้เน้นความสนุกและบันเทิงมากยิ่งขึ้น 

ซึ่งประเทศไทยเราก็ถือว่าอยู่ใน Mainstay Markets นี้เช่นกัน แต่ Shoppertainment ไม่จำเป็นต้องทำแค่ใน Tiktok เท่านั้น สามารถทำได้หมดทุกช่องทาง โดยคาดการณ์ว่าปีหน้าจะมีฟังก์ชั่น Youtube Shorts ที่ทำให้คนสามารถคลิกสั่งสินค้าได้เลย เพราะ Channel ต่างๆ มาจาก Creator แต่ที่ต่างก็คือ Youtube ให้ส่วนแบ่งค่า View ด้วย การแข่งขันจึงสูงขึ้น กลายเป็นสงคราม New Commerce อย่างแท้จริง 

แม้ผู้ใช้งาน TikTok จะเยอะมากแซงหน้า Winner takes all ตลอดกาลอย่าง Facebook ถึงอย่างนั้นก็ยังมีข้อด้อยคือ คนส่วนใหญ่ยังมองว่า TikTok เป็นสื่อที่เชื่อถือได้น้อยที่สุด เพราะฉะนั้นวิธีที่ดีในการใช้งาน Social Media ปัจจุบัน ก็คือการ Mix Channel โดยใช้ความหลากหลายของ Media ที่มอบ Impact ให้ผู้ใช้งานมากที่สุด และสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจได้มากที่สุด

และยิ่งผู้บริโภคมีตัวเลือกมากขึ้น ช่องทางการซื้อมากขึ้น กลับยิ่งส่งผลให้ความสนใจที่จะซื้อของผู้บริโภคช้าลง เพราะตัวเลือกเยอะและต้องใช้เวลาในการตัดสินใจ จากการสำรวจพบว่า 

– 85% ของผู้บริโภคมีการสลับการใช้แอปพลิเคชันในการช็อปปิ้งไปมา

– 46% ของผู้บริโภคมักตัดสินใจซื้อในวันอื่น

– 90% กดข้ามโฆษณาที่ขึ้นใน Social Media

โดยเฉพาะโฆษณาที่ยัดเยียดมากเกินไป ทำให้ผู้บริโภคไม่อยากซื้อแบรนด์ๆ นั้น โดยผู้บริโภคจะรู้สึกว่าไม่จริงใจ เข้าไม่ถึงในสิ่งที่แบรนด์สื่อสาร จึงเลือกที่จะ “กดข้าม” โฆษณา และตัดสินใจไม่ซื้อแบรนด์นั้นๆ โดยจากการสำรวจพบว่า

– 48% ของผู้บริโภคมองว่าโฆษณามักเกินจริง

– 38% โฆษณาดูตั้งใจให้มีความสมบูรณ์แบบเกินไป

– 31% ผู้บริโภครู้สึกเบื่อโฆษณา

– 23% โฆษณาทำให้อารมณ์ที่กำลังเพลิดเพลินสะดุดลง

คาดการณ์กันว่ามูลค่าการค้าในรูปแบบ “Shoppertainment” นี้จะมีแนวโน้มเติบโตขึ้นในเอเชียแปซิฟิกโดยเฉลี่ย 23% ต่อปีเลยทีเดียว 

– ปี 2022 ตลาด “Shoppertainment” ในเอเชียแปซิฟิกอยู่ที่ 500 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 20% ของตลาดอีคอมเมิร์ซ

– คาดว่าภายในปี 2025 ตลาด “Shoppertainment” จะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2025 หรือคิดเป็น 30% ของอีคอมเมิร์ซโดยรวมในภูมิภาคนี้

– เมื่อเจาะเฉพาะ 6 ตลาดคือ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น พบว่าตลาด Shoppertainment จะมีอัตราเติบโตถึง 63% ต่อปี

– ปี 2022 ตลาด Shoppertainment ใน 6 ประเทศอยู่ที่ 24 พันล้านเหรียญสหรัฐ

– คาดว่าภายในปี 2025 ตลาด Shoppertainment จะเพิ่มขึ้นเป็น 100 พันล้านเหรียญสหรัฐ

 

 

Article by Thanisorn Boonchote

Nice Selfie

Office Manager

Chanatinad Chotiksatis

Thailand