Low-Code คืออะไร? ทำไมจึงสำคัญต่ออนาคตการพัฒนา Software

Your Opinion
Published: 20.09.22

Low-Code platform

ในโลกของ Software นักพัฒนามักต้องอาศัยการใช้งาน Library, API และระบบต่างๆ จากผู้ให้บริการภายนอกเพื่อที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาในส่วนสำคัญของธุรกิจให้เติบโตได้เร็วที่สุด

แต่เมื่อโลกธุรกิจหมุนไว อาศัยนักพัฒนา Software ที่มีจำนวนจำกัดอาจไม่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนธุรกิจให้ไปข้างหน้าได้ทัน ดังนั้นจึงเกิดคำถามขึ้นว่า ทำอย่างไร ให้การพัฒนา Software มีประสิทธิภาพมากพอและใช้ต้นทุนที่ถูกลง จึงเกิดเป็น 3 โจทย์สำคัญในการพัฒนา Software ขึ้นคือ

1.การปิดช่องว่างระหว่างธุรกิจและ IT ให้สื่อสารกันรู้เรื่องมากขึ้น

2.ระยะเวลาในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นสู่ตลาด (Time to Market)

3.ทรัพยากรบุคคลที่ไม่เพียงพอ

Low-code จึงเข้ามาตอบโจทย์ตั้งแต่การเกิดกระแสการ Digital Transformation ในสหรัฐฯ และยุโรปด้วยส่วนหนึ่ง และการที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์มีจำกัด เพราะฉะนั้นการมีเครื่องมือเข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานก็เป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ หลายๆองค์กรที่ถูก Disrupt ก็มีความต้องการ Transform อย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน 

นิยามของ Low-Code

คือเครื่องมือพัฒนา Software โดยการเขียนโค้ดให้น้อยที่สุดหรือไม่ต้องเขียนโค้ดเลย ซึ่งจะตรงกันข้ามกับ High-Code ที่เป็น Traditional Development หรือหมายถึงการพัฒนา Software แบบดั้งเดิมที่อาศัยการเขียนโค้ดเต็มรูปแบบ เปรียบเหมือนโปรแกรมเมอร์ที่ต้องสร้างบ้านด้วยตัวเอง แต่ Low-Code นั้นเหมือนมี Blueprint มาให้แล้ว นักพัฒนาหรือผู้ใช้งานเพียงแค่นำมาประกอบด้วยการ Drag and Drop เท่านั้น โดยหลักการของ Low-Code ก็คือ การทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายโดยใช้เวลาน้อยที่สุด

ทำไม Low-Code จึงสำคัญ

แน่นอนว่าโจทย์แต่ละโจทย์ของแต่ละธุรกิจนั้นไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นความต้องการใช้เทคโนโลยีจึงแตกต่างกันไป เช่น บางอย่างอาจเหมาะกับการพัฒนาในรูปแบบ Package Software หรือ Low-Code มากกว่าใช้ High-Code ก็ได้ แต่โจทย์ของบริษัทใหญ่ๆโดยเฉพาะในแวดวงธุรกิจมักเน้นกระบวนการทำงานแบบ Automation เพราะถ้าใช้ในรูปแบบของ High-Code ก็อาจใช้ต้นทุนมากกว่าและกำลังคนที่มากกว่า ส่งผลให้เกิดความล่าช้ามากกว่า Low-Code จึงเป็นเครื่องมือที่เข้ามาช่วยให้การทำ Digital Transformation เป็นไปอย่างง่ายและเร็วขึ้น 

โจทย์แบบไหนเหมาะกับ Low-Code?

ระบบบริการลูกค้าอัตโนมัติของบริษัทบัตรเครดิต

การ Transform บริษัทประกันให้เป็น Digital Insurer เช่น การขายประกันออนไลน์ หรือสร้างแพลตฟอร์มตัวแทนประกัน

กลุ่มบริษัทที่มีความหลากหลายของบริษัทในเครือที่สามารถนำ Low-Code ไปพัฒนาต่อยอดธุรกิจได้ด้วยตัวเอง

แล้วโจทย์แบบไหนที่ไม่เหมาะกับ Low-Code?

เพราะ Low-Code นั้นออกแบบมาสำหรับใช้งานในธุรกิจเป็นหลัก (Business Application) เพราะฉะนั้นโจทย์ที่ไม่เหมาะกับ Low-Code ก็คืออะไรก็ตามที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น 

เกม, มัลติมีเดีย , ระบบสมองกล (Embedded System)

เว็บไซต์บางอย่างที่สามารถใช้เครื่องมือทั่วไปพัฒนาได้ (WordPress, Wix)

ระบบ Low-code นั้นเข้าใจเป็นอย่างดีว่าเวลาส่วนใหญ่ที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับ Web และ Mobile Application นั้นก็มักเป็นการแก้ไขโจทย์เดิมซ้ำๆ ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องแก้โจทย์เดิมๆ ทุกครั้งที่เริ่มต้นโครงการใหม่ เพราะ Low-code ช่วยประหยัดเวลาให้เราสร้าง Application ขึ้นมาได้อย่างง่ายดายด้วยระบบพื้นฐานที่ผ่านการทดสอบมาแล้ว ด้วยระบบ Low-code เราสามารถใช้เวลาในการสร้างและทำงานซ้ำๆ ได้โดยใช้เวลาน้อยลง ในระหว่างที่ต้องใช้เวลาในการแก้ไขบั๊กบนโค้ดที่คุณไม่คุ้นเคยอยู่นั้น คู่แข่งก็อาจแย่งลูกค้าของเราไปแล้วก็เป็นได้

เพราะฉะนั้น Low-code จึงไม่ได้ทำให้คุณค่าของเหล่านักพัฒนาลดลงแต่อย่างใด แต่ Low-code จะยิ่งช่วยให้นักพัฒนามีเวลามากขึ้น นำไปสร้างคุณค่าใหม่ๆ ได้ดีขึ้นและเร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม ในขณะที่ยังคงสามารถสร้างสรรค์ Web และ Mobile Application ใหม่ๆ ที่มีคุณภาพสูงขึ้นมาได้ด้วย

 

Article by Thanisorn Boonchote

Nice Selfie

Office Manager

Chanatinad Chotiksatis

Thailand