หากธุรกิจของคุณต้องการ Save costs เพื่อยกระดับสถานะทางการเงินในช่วงที่เศรษฐกิจผันผวน หรือหากองค์กรของคุณมีแนวโน้มที่กำลังเติบโต ในช่วงเวลานี้ก็ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญทีเดียว ที่หลายธุรกิจทุกภาคส่วนต้องปรับตัว เปลี่ยนกลยุทธ์ หรือโมเดลธุรกิจเสียใหม่
เพราะบทเรียนจากปี 2022 บอกเราว่า ไม่มีอะไรแน่นอนและคาดการณ์ได้อีกต่อไป แต่การเรียนรู้เทรนด์ การใช้เทคโนโลยีและ Data นั้นช่วยให้เราเข้าใจการทำธุรกิจในยุคนี้และต่อยอดให้เติบโตได้
โดย Gartner บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก ได้เปิดเผยข้อมูลสำคัญถึงแนวโน้มเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจในปี 2023 มี 10 เทรนด์ที่น่าสนใจที่แบ่งออกได้เป็น 4 ธีมหลักๆ ด้วยกัน คือ การเพิ่มประสิทธิภาพ (Optimize) การปรับขยาย (Scale) การเป็นผู้ริเริ่ม (Pioneer) และเรื่องของความยั่งยืน (Sustainability)
มาเจาะลึกแต่ละธีมไปพร้อมกัน!
ธีมที่ 1 : การเพิ่มประสิทธิภาพ (Optimize)
-Digital Immune System : ระบบภูมิคุ้มกันดิจิทัล
เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของประสบการณ์ลูกค้า โดยการใช้กลยุทธ์ทาง Software Engineering เพื่อป้องกันความเสี่ยงและการแพร่กระจายของไวรัสที่อาจเกิดขึ้น ผ่านการสังเกตการณ์, ระบบ Automation, และยกระดับระบบการทดสอบให้ดีขึ้น เพื่อให้ระบบมีความยืดหยุ่นและสามารถป้องกันความเสี่ยงได้อย่างเต็มขั้น
-Applied Observability : การสังเกตแบบประยุกต์
Observability คือกระบวนการที่ใช้เครื่องมือซอฟต์แวร์เพื่อตรวจหาปัญหาโดยการสังเกตทั้ง Input และ Output ของเทคโนโลยี โดยการทำงานของ AI ที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากหลายๆทางภายในเวลาอันสั้น ซึ่งช่วยประหยัดเวลาในการตัดสินใจ วิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจแบบเรียลไทม์
-AI TRiSM : การจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัย
AI TRiSM เป็นระบบที่รองรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ และความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน โดยใช้ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลที่แม่นยำของ AI ซึ่ง AI TRiSM มีเครื่องมือและกระบวนการที่ทำให้โมเดล AI ตีความและอธิบายได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันก็ปรับปรุงความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยโดยรวมมากขึ้นด้วย
ธีมที่ 2 : การปรับขยาย (Scale)
-Industry Cloud Platforms : แพลตฟอร์มคลาวด์สำหรับภาคอุตสาหกรรม
แพลตฟอร์มที่ประยุกต์ใช้ร่วมกับ SaaS, PaaS และ IaaS เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ระบบ Cloud เก็บข้อมูลองค์กรสำหรับภาคอุตสาหกรรม ให้ใช้งานได้อย่างสะดวกรวดเร็วและง่ายดายยิ่งขึ้น
-Platform Engineering : แพลตฟอร์มวิศวกรรม
แพลตฟอร์มวิศวกรรมรองรับการทำงานที่ต้องใช้เครื่องมืออย่างถูกต้องแม่นยำ เพื่อช่วยเหลือกระบวนการทำงานที่มีความซับซ้อนให้ฝั่งวิศวกรและ Developer ใช้งานได้อย่างรวดเร็วและง่ายขึ้น หรือแม้แต่ผู้ใช้งานที่ไม่มีประสบการณ์หรือความชำนาญเฉพาะด้าน ก็สามารถเข้าใจการทำงานได้มากขึ้นโดยแพลตฟอร์มวิศวกรรมที่เป็นตัวกลางในการทำงาน
-Wireless Value Realization : การรับรู้ถึงคุณค่าของระบบไร้สาย
แม้ว่าจะไม่มีเทคโนโลยีใดเข้ามาครอบครองตลาด แต่องค์กรต่าง ๆ ก็เริ่มจะใช้ Solution แบบไร้สายที่หลากหลายเพื่อรองรับทุกสภาพแวดล้อม ตั้งแต่ Wi-Fi ในสำนักงาน อุปกรณ์พกพา ไปจนถึงบริการที่ใช้พลังงานต่ำ ซึ่ง Gartner คาดการณ์ว่า 50% ของอุปกรณ์ปลายทางไร้สายระดับองค์กรจะใช้บริการเครือข่ายที่มอบความสามารถเพิ่มเติมนอกเหนือจากการสื่อสาร ที่จะส่งมอบคุณค่าให้ มากกว่าการเชื่อมต่อ ตั้งแต่การติดตามตำแหน่ง การตรวจจับเรดาร์ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวพลังงานที่ใช้พลังงานต่ำมาก เป็นต้น
ธีมที่ 3 : การริเริ่ม (Pioneer)
-Superapps : ซูเปอร์แอป
Superapps กลายเป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมหลายๆ บริการและฟังก์ชันเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งให้บริการที่หลากหลายพร้อม Interface ที่ใช้งานง่าย และสามารถเข้าบริการต่างๆ ได้ภายในแอพเดียว นอกจากนี้สำหรับ third parties สามารถพัฒนา Superapps ของตัวเองได้โดยอิสระ ซึ่งเรียกกันว่า miniapps
-Adaptive AI : AI ที่ปรับเปลี่ยนได้
ระบบ AI ที่ปรับเปลี่ยนได้ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาโมเดลขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่องโดยใช้สิ่งที่เรียกว่า real-time feedback และฐานข้อมูลใหม่เพื่อปรับระบบให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามสถานการณ์จริงที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ ทำให้เหมาะสมสำหรับการดำเนินงานที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสภาพแวดล้อมภายนอกหรือการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายขององค์กรที่ต้องการการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
-Metaverse : เมตาเวิร์ส
Gartners กำหนดให้ Metaverse เป็นพื้นที่จำลอง 3 มิติเสมือนจริง ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนมาใช้งานร่วมกัน ผสมผสานรวมโลกทางกายภาพและดิจิทัลไว้ด้วยกัน ซึ่ง Metaverse จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมอบประสบการณ์ที่สมจริงยิ่งขึ้น โดยคาดว่า Metaverse ที่สมบูรณ์ไม่ได้ขึ้นกับอุปกรณ์และจะไม่มีใครเป็นผู้จำหน่ายหรือเจ้าของแต่ผู้เดียว แต่จะมีระบบเศรษฐกิจเสมือนของตัวเอง โดยใช้สกุลเงินดิจิทัลและโทเค็นที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (NFTs) ภายในปี 2570 Gartners คาดการณ์ว่ามากกว่า 40% ขององค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลกจะใช้เทคโนโลยีผสมผสานกัน เช่น Web3, AR Cloud และ Digital Twins บน Metaverse โดยมีเป้าหมายคือการเพิ่มรายได้
ธีมที่ 4 : ความยั่งยืน (Sustainability)
ความยั่งยืนครอบคลุมเทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ทั้งหมดในปี 2566 จากการสำรวจของ Gartners พบว่าผู้บริหารไอทีเห็นด้วยว่าการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมในขณะนี้มีความสำคัญสูงสุดในสามอันดับแรกสำหรับนักลงทุน รองจากเรื่องของผลกำไรและรายได้
นั่นหมายความว่าผู้บริหารต้องลงทุนมากขึ้นกับนวัตกรรมที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ ESG และความยั่งยืน องค์กรจำเป็นต้องมีกรอบการทำงานด้านเทคโนโลยีที่ยั่งยืนใหม่ ที่เพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานและบริการไอที ที่จะช่วยทำให้องค์กรมีความยั่งยืนผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ อาทิ ความสามารถในการตรวจสอบแบบย้อนกลับ การวิเคราะห์ พลังงานหมุนเวียน AI และปรับใช้ Solution ช่วยให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่วางไว้
สรุป
เทรนด์เทคโนโลยีช่วยให้เราวางแผนกลยุทธ์สำหรับอนาคตได้ดียิ่งขึ้น และช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับเทรนด์ธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเรื่องของการลงทุน ความยั่งยืน และเรื่องของรายได้และผลกำไร หากเราเข้าใจการเทรนด์เหล่านี้เพื่อส่งมอบคุณค่าให้ธุรกิจ ก็จะสร้างผลกระทบเชิงบวกและโอกาสทางการเติบโตทางธุรกิจอย่างมากทีเดียว
อ้างอิง :
Article by Thanisorn Boonchote