● การทำงานร่วมกันที่มากยิ่งขึ้น: แพลตฟอร์ม AI แบบใช้ Low-code หรือ No-code ทำให้เกิดความสะดวกในการทำงานร่วมกันระหว่างทีมไอที data scientists และ business stakeholdersได้ดียิ่งขึ้น เพราะแพลตฟอร์ม AIนี้จะช่วยลดข้อจำกัดในการสื่อสารหรือการทำงานร่วมกัน (silos)
ปัจจุบันนี้ มีแพลตฟอร์มและเครื่องมือ AI ที่ใช้ Low-Code หรือ No-Code อยู่เป็นจำนวนมาก เช่น Google Cloud AutoML, Microsoft Azure Cognitive Services, และ IBM Watson Studio.
ข้อสรุป
AI แบบ Low-Code หรือ No-Code มีจุดประสงค์เพื่อทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงการพัฒนา AI ได้มากขึ้น โดยใช้กระบวนการอย่างเท่าเทียมในการพัฒนา (Democratization of development) ด้วยอุปสรรคในการใช้งานที่น้อยลง AI แบบ Low-Code หรือ No-Code จึงมีศักยภาพในการส่งเสริมนวัตกรรม (Innovation) และการค้นพบแอปพลิเคชั่น AI ใหม่ๆ ในแวดวงที่หลากหลายยิ่งขึ้น ประโยชน์จากการใช้ AI นั้น ทำให้องค์กรสามารถยกระดับการทำงาน , เพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างข้อได้เปรียบต่อคู่แข่งในตลาดสายไอที ดังนั้น AI แบบ Low-Code หรือ No-Code นี้จึงมีความสำคัญอย่างมากที่จะช่วยปลดปล่อยศักยภาพของ AI ได้อย่างเต็มที่