ในโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้งานด้านเทคโนโลยีมีการปรับเปลี่ยนเครื่องมือเพื่อให้เข้ากับการเติบโตของตลาดไอทีที่สูงขึ้นตามกาลเวลา ดังนั้น ในปี2023 การใช้ AI แบบ Low-Code หรือ No-Code จึงกลายมาเป็นเครื่องมือที่นิยมสำหรับการประกอบธุรกิจสำหรับผู้ใช้งานจำนวนมากที่ต้องการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI โดยไม่ต้องใช้ทักษะการเขียนโปรแกรมหรือทรัพยากรที่มากมายจนเกินไป
ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ AI แบบ Low-Code หรือ No-Code ให้มากยิ่งขึ้น และทำไมในปี2023นี้ AI แบบ Low-Code หรือ No-Code ถึงได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้งานสายไอทีทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้น
Low-Code หรือ No-Code AI คืออะไร
AI แบบ Low-Code หรือ No-Code เป็นชุดเครื่องมือและแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ผู้ใช้งานและองค์กรสามารถสร้างและปรับใช้โมเดลปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยไม่ต้องพึ่งพาการเขียนโปรแกรมหรือความเชี่ยวชาญด้าน data science เพราะเครื่องมือเหล่านี้สามารถใช้ interfaces แบบลากวาง และ modules ที่สร้างไว้ล่วงหน้า เพื่อลดความซับซ้อนของกระบวนการสร้างและการฝึกอบรมแบบ machine learning models.
เหตุผลหลักที่ทำให้การใช้ AI แบบ Low-Code หรือ No-Code กลายเป็นเทรนด์เทคโนโลยีในปี 2023
ในโลกธุรกิจสมัยใหม่ที่มีเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีเหตุผลหลายประการที่ธุรกิจสายไอทีหันมาใช้ AI แบบ Low-Code หรือ No-Code เพิ่มมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
● การพัฒนาแอปพลิเคชันที่เร็วยิ่งขึ้น: แพลตฟอร์ม AI แบบ Low-Code หรือ No-Code สามารถทำให้ธุรกิจสายไอทีพัฒนาแอปพลิเคชันและการแก้ปัญหาได้รวดเร็วกว่าวิธีการพัฒนาแบบเก่า โดยการใช้ส่วนประกอบที่สร้างไว้ล่วงหน้าและส่วนต่อประสานทางภาพ (visual interfaces) นักพัฒนาสามารถประกอบแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเขียนโค้ดหรือโปรแกรมที่ซับซ้อนมากจนเกินไป
● ความคล่องตัวที่เพิ่มขึ้น: ธุรกิจสามารถสร้างการเปลียนแปลงและอัพเดตแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย เพราะแพลตฟอร์มนี้ช่วยให้ธุรกิจตอบสนองต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของตลาดงานสายไอที ความต้องการของลูกค้า และโอกาสที่เกิดขึ้นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
● ลดค่าใช้จ่าย: แพลตฟอร์มนี้สามารถช่วยให้ธุรกิจประหยัดค่าใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น โดยลดความต้องการด้านบุคคลากรและทักษะเฉพาะทางด้านการเขียนโปรแกรม ดังนั้น ธุรกิจสามารถใช้ทักษะของนักวิเคราะห์ธุรกิจและนักพัฒนาทั่วไปที่ไม่มีความรู้หรือประสบการณ์ในการทำงาน Programming แทนการจ้างทีมพัฒนาซึ่งมีค่าตัวแพงกว่า แพง
● ความเท่าเทียมในการพัฒนาเทคโนโลยี: AI แบบ Low-Code หรือ No-Code ทำให้ผู้ที่ไม่ได้มีความรู้ด้านเทคนิคสามารถเข้าร่วมกระบวนพัฒนาได้ง่ายขึ้น เช่น นักวิเคราะห์ด้านธุรกิจ, ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง และ ผู้ใช้งานอื่นๆ โดยที่สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาการออกแบบ สร้าง และทดสอบแอปพลิเคชัน
● การทำงานร่วมกันที่มากยิ่งขึ้น: แพลตฟอร์ม AI แบบใช้ Low-code หรือ No-code ทำให้เกิดความสะดวกในการทำงานร่วมกันระหว่างทีมไอที data scientists และ business stakeholdersได้ดียิ่งขึ้น เพราะแพลตฟอร์ม AIนี้จะช่วยลดข้อจำกัดในการสื่อสารหรือการทำงานร่วมกัน (silos)
ปัจจุบันนี้ มีแพลตฟอร์มและเครื่องมือ AI ที่ใช้ Low-Code หรือ No-Code อยู่เป็นจำนวนมาก เช่น Google Cloud AutoML, Microsoft Azure Cognitive Services, และ IBM Watson Studio.
ข้อสรุป
AI แบบ Low-Code หรือ No-Code มีจุดประสงค์เพื่อทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงการพัฒนา AI ได้มากขึ้น โดยใช้กระบวนการอย่างเท่าเทียมในการพัฒนา (Democratization of development) ด้วยอุปสรรคในการใช้งานที่น้อยลง AI แบบ Low-Code หรือ No-Code จึงมีศักยภาพในการส่งเสริมนวัตกรรม (Innovation) และการค้นพบแอปพลิเคชั่น AI ใหม่ๆ ในแวดวงที่หลากหลายยิ่งขึ้น ประโยชน์จากการใช้ AI นั้น ทำให้องค์กรสามารถยกระดับการทำงาน , เพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างข้อได้เปรียบต่อคู่แข่งในตลาดสายไอที ดังนั้น AI แบบ Low-Code หรือ No-Code นี้จึงมีความสำคัญอย่างมากที่จะช่วยปลดปล่อยศักยภาพของ AI ได้อย่างเต็มที่