เพราะความท้าทายในการทำงานสาย Data นั้นไม่ใช่แค่เรื่องของตัวงานที่ยากและซับซ้อนอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องของการทำงานร่วมกันกับทีมและรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกันไประหว่างองค์กรใหญ่แบบ Corporate กับองค์กรเล็กแบบ Startups
หากคุณเป็นหนึ่งคนที่กำลังมองหางานสาย Data ที่เหมาะกับตัวเองอยู่ ลองมาเปรียบเทียบดูว่าลักษณะการทำงานแบบไหนที่เหมาะกับคุณ มาดูกันเลย!
ลักษณะการทำงาน Data ใน Corporate ใหญ่
ส่วนใหญ่จะมีการวางโครงสร้างองค์กรที่เป็นระเบียบแบบแผนที่ชัดเจนไว้แล้ว ตั้งแต่การสัมภาษณ์งาน สมัครงาน คุยงานภายไปจนถึงการคุยงานกับลูกค้าที่จะต้องดูมีความเป็นมืออาชีพและน่าเชื่อถือ ทำให้ภาพลักษณ์ของการทำงาน Corporate ค่อนข้างมีแบบแผนมากกว่า รวมถึงนโยบายองค์กรที่ชัดเจนมากกว่า เช่น การเข้างานเป็นเวลา ทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายภายใน scope ของงาน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น องค์กรแต่ละที่ก็จะมีการบริหารงานและแบบแผนที่แตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นตอนสัมภาษณ์องค์กรแบบนี้ อย่าลืมสอบถามและสังเกตให้ดีว่ารูปแบบการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรตอบโจทย์หรือไม่
ลักษณะการทำงาน Data ใน Startups ขนาดเล็ก
ส่วนมากแล้วลักษณะการทำงานของคนในองค์กร Startup จะค่อนข้างมีความเป็น Flat Organization เน้นเรื่องการทำงานและการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเป็นหลัก ไม่ได้มีพิธีรีตองหรือโฟกัสแบบแผนมากเท่ากับองค์กร Corporate ทำให้มีความยืดหยุ่นมากกว่า และทุกคนสามารถพูดคุยถกเถียงปัญหาที่เกิดขึ้นได้ง่ายกว่า
หากชอบการทำงานที่ยืดหยุ่นและได้เรียนรู้อย่างกว้างขวาง การทำงานในองค์กร Startups ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากทีเดียว
ความแตกต่างระหว่างงานสาย Data ในบริษัท Corporate และ Startup
หากดูจากข้อมูลคร่าว ๆ ด้านบนแล้ว ก็น่าจะทำให้พอเดาได้ว่า การทำงานในบริษัทใหญ่ หรือ Corporate นั้นน่าจะเหมาะกับคนที่ชอบความมีแบบแผนมากกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การทำงานในบริษัททั้งสองแบบก็มีความแตกต่างที่เหมาะสมกับคนแต่ละแบบ ไม่ว่าจะเป็น
– ความยืดหยุ่น – Startsup ค่อนข้างยืดหยุ่นมากกว่า Corporate
– ความมั่นคงในการทำงาน – Corporate ตอบโจทย์คนที่มองหาตำแหน่งงานที่มั่นคง เหมาะกับทำยาวๆ มากกว่า
– การเรียนรู้และการพัฒนาตัวเอง – Startups เหมาะกับคนที่ต้องการเรียนรู้และได้ทำอะไรหลายๆ อย่างที่ทีมต้องการ
การสมัครงานสาย Data ใน Corporate และใน Startup
การสมัครงานใน Corporate
– เหมาะกับคนที่มีประสบการณ์มาในระดับหนึ่งแล้ว
– ขั้นตอนการสมัครงานจะต้องผ่านทีม HR ทำให้ถ้าเราทำงานไม่ตรงสาย หรือเรียนจบไม่ตรงสาย อาจต้องแข่งขันกับ Resume คนอื่นๆ มากกว่า
– อาจจะมีการทำแบบทดสอบก่อนสัมภาษณ์
– หลังทำการทดสอบ หากผ่านจึงจะได้สัมภาษณ์กับทีม ซึ่งอาจจะได้สัมภาษณ์กับทั้งทีมเดียวกัน หัวหน้าทีมหรือทีมอื่นๆ ด้วย
การสมัครงานใน Startup
– เหมาะกับคนที่เพิ่งเปลี่ยนสายงาน ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาก แต่ต้องพร้อมที่จะพัฒนาและเรียนรู้ไปพร้อมกับทีมและองค์กร
– มักจะสัมภาษณ์กับ CEO หรือระดับผู้บริหารโดยตรง
– ถ้าหา Connection กับคนในบริษัท เช่น จาก LinkedIn ก็เพิ่มโอกาสในการสมัครงาน มากขึ้นได้
Article by Thanisorn Boonchote
Office Manager
Chanatinad Chotiksatis
Thailand