องค์กรของคุณพร้อมจะเปลี่ยนจากความไม่แน่นอนและคาดเดายาก ให้เป็นองค์กรแห่งโอกาสหรือยัง? ชวนดู 10 แนวโน้มที่ Gartner ได้รวบรวมสถิติมาจากแบบสำรวจ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้มองเห็นภาพรวมและมุมมองของเทรนด์การทำงานในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น มาดูไปทีละข้อกัน!
ลดความไม่แน่นอนในการทำงานได้จากข้อมูล Insight Data
คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบการเปลี่ยนแปลง หรือความไม่แน่นอนที่คาดเดาไม่ได้ เพราะเรื่องของคน วัฒนธรรมการทำงานและกลยุทธ์ในการทำงานเป็นคุณค่าในองค์กรที่มีความสำคัญและต้องทำอย่างต่อเนื่อง ในหลายๆ ครั้งสิ่งเหล่านี้มีคุณค่ามากกว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เสียอีก โดยเฉพาะในมุมมองของคนเป็นหัวหน้าที่ต้องเปิดรับทุกความเป็นไปได้ และโอกาสที่จะล้มเหลวเพื่อเรียนรู้ที่จะประสบความสำเร็จอีกครั้ง สิ่งสำคัญในมุมมองคนเป็นหัวหน้าคือ ความยืดหยุ่นในการคิดและการทำงานที่ท้าทายกรอบคิดในการทำงาน
บางครั้งการทำอะไรหลายๆ อย่างก็เป็นทางเลือกที่ดีกว่า แม้ว่าบางครั้งผลลัพธ์ที่ได้อาจจะแย่กว่า ยกตัวอย่างเช่น คุณสามารถพัฒนาเรื่องความยั่งยืนด้วย AI หรือระบบ Automation แต่ก็ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดเรื่องความผิดพลาดทางระบบที่อาจตามมาได้ เช่นกันกับฝั่งพนักงานที่ต้องมุ่งมั่นกับสถานการณ์ทำงานที่ยืดหยุ่น รองรับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่อาจกระทบกับหลายๆ อาชีพ บริษัทจึงต้องคำนึงถึงการรักษาสมดุลของงานและความก้าวหน้าเพื่อให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไป
ลองวิเคราะห์ 10 เทรนด์พยากรณ์แนวโน้มการทำงานที่อาจเกิดขึ้นในปี 2023 ที่ช่วยให้คุณเข้าใจมุมมองพฤติกรรมของคนทำงานในยุคนี้มากขึ้น ช่วยให้องค์กรปรับตัวได้ง่ายและยืดหยุ่น และเตรียมพร้อมอยู่เสมอสำหรับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้มากมายภายในปีนี้
#เทรนด์ที่ 1 : ภายในปี 2027 ที่ทำงานเสมือนจริง (Virtual workspaces) จะกลายเป็นรูปแบบการทำงานใหม่ และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น 30% โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเข้ามาของ Metaverse ที่จะมาเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานของคนทำงานสมัยใหม่
Virtual workspaces หรือที่ทำงานแบบเสมือนจริงได้เข้ามาสร้างโอกาสและทางเลือกใหม่ๆ ในการทำงานและการจ้างงานที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การเกิดขึ้นของ Virtual workspaces นอกจากลดข้อจำกัดในการทำงานคนละสถานที่และเวลาแล้ว ยังช่วยเปิดโอกาสให้กับคนที่ไม่สามารถมาทำงาน On-site ในออฟฟิศได้อีกด้วย คาดว่าแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของ Virtual workspaces นี้ อาจเข้ามาแทนที่การทำงานแบบเดิมๆ ในออฟฟิศ และกลายเป็น New Norm ของประสบการณ์ทำงานแบบใหม่
#เทรนด์ที่ 2 : ภายในปี 2025 ความผันผวนของการจ้างงานอาจสูงถึง 40% จากการสำรวจภายในองค์กร ส่วนใหญ่เป็นเพราะบริษัทขาดทุนได้ง่ายขึ้น การแข่งขันที่สูงขึ้น และแนวโน้มการทำงานที่ยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น
จากผลสำรวจพบว่า 40% ขององค์กรต้องการที่จะมั่นใจว่าการจ้างงานจะมีแนวโน้มมากขึ้นหรือเป็นไปอย่างคงที่และสม่ำเสมอ แต่ความต้องการทำงานของคนทำงานสมัยใหม่ที่มองหาความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น จากผลสำรวจพบว่า 57% ของผู้สมัครงานไม่มั่นใจว่าองค์กรจะสร้างประสบการณ์ลูกค้าได้ดีขึ้นในขณะนี้
#เทรนด์ที่ 3 : ภายในปี 2025 ความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างเพศชายและหญิงจะเริ่มลดลงกว่า 30% ซึ่งช่วยลดความกดดันของเรื่องอคติในการทำงานได้มากขึ้นอีกด้วย
หลายๆ องค์กรเริ่มโฟกัสที่ความสามารถหรือ Skill ของพนักงานเป็นหลัก มากกว่าเอาเรื่องเพศมาจำกัดโอกาสในทำงานอย่างในอดีตอีกแล้ว โดยเฉพาะในเรื่องของควมเท่าเทียมและเปิดรับความหลากหลายมากยิ่งขึ้น จากผลสำรวจพบว่า พนักงานต้องการค่าจ้างที่เป็นธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะพนักงานหญิงที่หากได้ค่าจ้างที่เป็นธรรมและความเติบโตก้าวหน้าในอาชีพตามความสามารถ จะยิ่งกระตุ้นผลลัพธ์เชิงบวกได้ดียิ่งขึ้น
#เทรนด์ที่ 4 : ภายในปี 2025 พนักงานให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ความพอใจในบริษัทและหลีกเลี่ยงงานที่อาจทำให้ Burnout ได้ง่ายขึ้น หากองค์กรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ จะส่งผลต่อผลกำไรโดยภายรวมของบริษัทได้ดีถึง 30%
องค์กรที่สามารถสร้างประสบการณ์ทำงานที่ดีของพนักงานก็มีแนวโน้มจะสร้างประสบการณ์และความพึงพอใจของลูกค้าได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อรายได้และผลกำไรที่มากขึ้นโดยรวม และองค์กรที่ขยายการวัดผล (Metrics) ที่มากไปกว่า ROI จะยิ่งช่วยให้การลงทุนในระยะยาวนั้นคุ้มค่า และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นจริงได้
#เทรนด์ที่ 5 : ภายในปี 2025 เทรนด์เรื่องความยั่งยืนจะยิ่งเข้มข้นยิ่งขึ้น และการเข้ามาของ AI จะมีผลมากกว่าแรงงานคน โดยเฉพาะในเรื่องของ carbon-zero
การนำ AI เข้ามาช่วยในการทำงานจะยิ่งเพิ่มสูงมากยิ่งขึ้นพอๆ กับทำงานของมนุษย์ในรูปแบบที่เรียกว่า Automate และ Machine Learning ที่ยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งมาจากการพัฒนาของ Cloud Data ทำให้ในวงการเทคโนโลยีจะยิ่งเติบโตและพัฒนาไปได้อีกขั้น โดยประโยชน์ที่จะช่วยได้อย่างเห็นได้ชัดก็คือ เรื่องของ Carbon Footprint
#เทรนด์ที่ 6 : เครื่องมือ Social Media เริ่มเปลี่ยนรูปแบบจาก “ลูกค้าคือสินค้าประเภทหนึ่ง” เป็น “แพลตฟอร์มก็คือลูกค้า” ซึ่งเป็นการตอกย้ำการ Decentralized identity ที่เริ่มเป็นความจริงมากยิ่งขึ้นแล้ว
การใช้งานแพลตฟอร์มหรือ Social Media ต่างๆ ในตอนนี้ ผู้ใช้งานตอนต้องมีการยืนยันตัวตน และยิ่งมีการใช้งานแพลตฟอร์มหลากหลายมากเท่าไหร่ ผู้ใช้งานก็ต้องยืนยันตัวตนมากขึ้นตามไปด้วย และต้องยืนยันหลายครั้ง ซึ่งอาจกระทบต่อความปลอดภัยในข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานได้ แต่การเข้ามาของ WEB 3.0 ที่ไม่มีตัวกลาง ทุกอย่างสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้หมด ทำให้ข้อมูลยืนยันตัวตนของผู้ใช้งานหรือลูกค้านั้นสามารถเชื่อมถึงกันได้โดยที่ยังมีความปลอดภัยสูง
#เทรนด์ที่ 7 : ผู้คนเริ่มสนใจประเด็นสังคมมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ผู้ช่วยเสมือนจริง (Virtual Assistants) ที่อาจเผชิญแรงกดดันให้ต้องยกเลิกทักษะที่สามารถติดต่อกับองค์กรต่างๆ ได้อย่างเสรี
ค่อนข้างจะเป็นที่ถกเถียงกันมากทีเดียวว่า AI หรือผู้ช่วยเสมือนจริงเหล่านี้จะถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการพูดอย่างเสรีที่อาจกลายเป็นประเด็นทางสังคมได้หรือไม่ เพราะกฎหมายระหว่างประเทศเรื่องการละเมิดนโยบายเริ่มจะซับซ้อนมากยิ่งขึ้น การนำ Virtual Assistants สำหรับพิจารณาการติดต่อระหว่างองค์กรต่างๆ ก็อาจเกิดแรงกดดันให้ยกเลิกการใช้ได้
#เทรนด์ที่ 8 : ภายในปี 2025 ผู้ถือหุ้นเริ่มยอมรับการลงทุนเชิงเก็งกำไรเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ถือเป็นทางเลือกใหม่เร่งการเติบโต แทนการลงทุนด้าน R&D แบบดั้งเดิม
มีแนวโน้มว่าหลายๆ องค์กรและผู้ถือหุ้นเริ่มยอมรับการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่มีความเสี่ยงสูงหรือการเก็งกำไรโดยมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นแนวทางที่แก้ปัญหางบประมาณด้านผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม แทนที่การลงทุนแบบเดิมๆ อย่าง R&D โดยเฉพาะองค์กรที่กล้าจะล้มเหลวแล้วนำเอาบทเรียนนั้นมาแก้ไขพัฒนาให้ Solutions ขององค์กรตัวเองดีขึ้นได้
#เทรนด์ที่ 9 : ภายในปี 2025 โรงงานไฟฟ้าหลายแห่งจะรวมระบบนิเวศน์และภูมิทัศน์ของผู้จำหน่ายมากขึ้นถึง 30% ทำให้ตัวเลือกของผู้บริโภคน้อยลงและตัวเลือกของการทำงาน Software ก็น้อยลงด้วย
Cloud Solution Provider (CSP) หรือระบบนิเวศน์ให้บริการด้าน Solution แบบ Cloud ส่วนใหญ่ระบบยังไม่สมบูรณ์ ขาดฟังก์ชั่นการทำงานที่ครอบคลุมทุกความต้องการ องค์กรส่วนใหญ่จึงเริ่มพัฒนาระบบนิเวศน์แบบผสมผสานเพื่อปรับปรุง Solutions มากขึ้น เพื่อประหยัดต้นทุนและเวลาเมื่อต้องมีการลองใช้งานก่อนออกสู่ตลาด
#เทรนด์ที่ 10 : ภายในปี 2024 หุ้นส่วนหรือผู้เป็นเจ้าของร่วมในแบรนด์ด้านไอทีหรือระบบคลาวด์ระดับโลกอาจมีประเด็นด้านความไว้วางใจและมีการตรวจสอบที่มากขึ้น
ประเด็นเรื่องนโยบายความเป็นส่วนตัวเริ่มมีการปกป้องข้อมูลที่เข้มงวดมากขึ้น โดยเป็นไปเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล มีการตรวจสอบมากขึ้นเพื่อผ่านการควบคุมทางเทคโนโลยีอย่างอิสระในระยะยาว ที่สำคัญคือแนวทางการให้บริการระบบ Cloud ที่มีเจ้าของร่วมกันระหว่างรัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแลต้องมีการชี้แจงแนวทางและมาตรการที่เหมาะสมก่อนเสมอ
อ้างอิง :
Article by Thanisorn Boonchote