สมาร์ทโฟนจอพับจากรุ่นพี่ที่บุกเบิกมาก่อนอย่าง Samsung ทำให้เกิดเป็นกระแสและหมู่ผู้ใช้งานจอพับมากขึ้น ด้วยมองว่าใช้งานง่ายและพกพาได้สะดวกสบาย แถมดีไซน์ก็เก๋ เป็นที่นิยมมากในหมู่ Gen Z และ Gen Y แต่เทรนด์นี้ก็ไม่ได้มีแค่เจ้าเดียวอย่าง Samsaung เท่านั้น เพราะยี่ห้ออื่นๆ ก็เริ่มผลิตมาแข่งขันมากขึ้น เช่น Motorola, Mi, Huawei และ Oppo ที่เริ่มมีการจำหน่ายบ้างแล้ว เกิดเป็นกระแสจนทำให้ยอดขายของมือถือจอพับในปีนี้ก็พุ่งสูงถึง 571% เลยทีเดียว คาดว่าในปี 2023 น่าจะมีการแข่งขันที่สูงมากขึ้นในเรื่องของดีไซน์และลูกเล่นการใช้งานที่เราต้องจับตาดูกันอีกครั้ง
2. กระแส EV Car มาแรงมาก
เรียกได้ว่าภายในปีนี้ยอดจองรถ EV ที่สูงขึ้นอย่างมากในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเพราะเทรนด์เรื่องความยั่งยืนและการได้รับมาตรการหนุนจากภาครัฐ ที่ทำให้ผู้บริโภคต่างรู้สึกว่าคุ้มค่าที่จะซื้อ อย่างช่วงต้นปีก็มี OR A good cat ที่เปิดให้จองรถ EV ด้วยยอดจองที่สูงถึง 6,000 คันภายในแค่ 2 วันเท่านั้น และช่วงกลางปีก็มี NETA V รถ EV ในราคาครึ่งล้านที่ได้รับความสนใจมาก ด้วยยอดจองทะลุ 3,000 คัน
นอกจากนี้ยังมี BYD ATTO 3 ค่ายน้องใหม่ EV Car ที่มาแรงไม่แพ้กัน โดยเน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในราคาที่จับต้องได้ เรียกกันว่าเป็น TESLA เมืองจีน เปิดโชว์รูมในไทยถึง 31 แห่งด้วยกัน สร้างกระแสใน Social ด้วยการเปิดให้จองหน้าโชว์รูมกันไปเลย และล่าสุดอย่าง TESLA ที่เพิ่งมีข่าวเปิดตัวในไทยเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งยอดจองตอนนี้ก็ทะลุ 8,000 คันเป็นที่เรียบร้อยในเวลาไม่ถึงสัปดาห์
เทรนด์การใช้รถ EV นี้ทำให้เรามองเห็นว่าผู้คนนิยมใช้รถที่ช่วยสิ่งแวดล้อมและให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น แต่ก็เกิดคำถามที่ตามมาว่า แม้ในประเทศไทยจะมีสถานีชาร์จรถมากขึ้นแล้ว แต่ในการชาร์จแต่ละครั้งยังอยู่ในความเร็วปกติ หมายความว่าต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมง ซึ่งอาจทำให้เกิดการแย่งกันและความไม่เพียงพอของการชาร์จได้ ก็เป็นปัญหาที่คิดว่าคงมีการเร่งแก้ไขในอนาคต
ในฝั่งของ JD Central ก็เพิ่งมีประกาศข่าวจะปลดออกจากประเทศไทยแล้ว ด้วยรายได้ที่ไม่เป็นไปตามเป้า และขาดทุนกว่าห้าหมื่นล้านบาท และสาเหตุอื่นๆ อีกทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคที่เริ่มกลับมาเป็นปกติแล้ว ไม่ต้องพึ่งแอพออนไลน์อีกต่อไป นอกจากหากแอพเหล่านี้จะมีโปรโมชั่นหรือโค้ดส่วนลด ที่พอจะดึงดูดใจให้ลูกค้าอยากเข้ามาช็อปออนไลน์ แต่สิ่งที่น่าจับตามองในเทรนด์ของ E-commerce ก็คือแอพ Central Online ที่ในปีนี้ยังไม่ขาดทุนเลย คาดว่าจะกลายมาเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงที่เราต้องจับตาดู
4. ปีชงของ Apple
ในปีนี้ Apple เพิ่งเปิดตัวไอโฟนรุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง iPhone14 ที่แม้จะมียอดจองมาก แต่ยอดขายกลับไม่ได้เป็นไปตามเป้า สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะโรงงานการผลิตอย่าง Foxconn ปิดตัวในจีนชั่วคราว ทำให้แม้จะมียอดจอง แต่ยอดผลิตก็ทำได้ไม่ทัน ทำให้ Apple ขาดรายได้ตรงนี้ไป
นอกจากปัญหาการผลิตไม่ทันแล้ว ยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นมากวนใจผู้ใช้งานอีกครั้ง ด้วยปัญหาหน้าจอเขียวที่เกิดขึ้นทั่วทั้งโลก และ Apple ก็ไม่รับเคลมอีกด้วย ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนไม่พอใจและเริ่มอยากมองหาสมาร์ทโฟนค่ายอื่นกันมากขึ้น
อีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้งาน Apple ทยอยกันย้ายค่ายก็เพราะการไม่ยอมให้สายชาร์จที่มาพร้อมกับตัวเครื่อง ประเด็นนี้ทำให้ที่ประเทศบราซิลเริ่มยึด iPhone ตามร้านค้าที่ไม่ยอมให้สายชาร์จมาด้วยแล้ว ก็คือถ้าไม่มีสายชาร์จก็ไม่ให้ขายเลยนั่นเอง นอกจากนี้สภายุโรปยังมีคำสั่งอีกว่า iPhone ต้องเปลี่ยนหัวชาร์จเป็น USB-C ให้เหมือนสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นๆ ภายในปี 2024 อีกด้วย เรียกได้ว่าตอนนี้ Apple ต้องเปลี่ยนแผนและปรับตัวอย่างยิ่งใหญ่เลยทีเดียว
5. Meta ยุคตกต่ำและการขาดทุนครั้งแรกของ Mark Zuckerberg
เจอปัญหาทั้งเรื่องของ Privacy และการทิศทางของบริษัทที่เริ่มไม่ชัดเจนแล้วอย่าง Meta และงานเข้าอีกครั้งเมื่อ Google ออกนโยบายจำกัดการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งาน ด้วยฟีเจอร์ Ask app not to track ที่ทำให้แพลตฟอร์ม Social Media อย่าง Facebook, Twitter และ Youtube รายได้หดหายไปเกือบ 3 แสนล้านบาท
ในด้าน Facebook หรือ Meta ก็มีผลประกอบการที่ตกฮวบและหุ้นที่ตกอย่างต่อเนื่อง หลายคนในวงการเทควิเคราะห์กันว่าเป็นเพราะ Mark มุ่งมั่นกับ Meta มากเกินไป และเริ่มคิดกันว่า Mark อาจจะมองทิศทางของ Meta ผิดไป เพราะเรื่อง Metaverse นี้ก็เป็นที่รู้จักในวงการเกมเมอร์มานานแล้ว ด้วยระบบอย่าง Multiplayer ที่ไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้นอะไรนัก หลายคนคุ้นชินกันอยู่แล้ว แต่ Mark กลับไม่คุ้นเคยเสียเอง เรียกได้ว่าในปีนี้เม็ดเงินที่ทุ่มให้กับ Meta นั้นละลายหายไปหลายแสนล้านเลยทีเดียว