WEB 3.0 Revolution or Illusion? สรุปจากงาน The Standard Economics Forum
Published: 09.12.22
WEB 3.0 กลายเป็นหัวข้อเทรนด์ใหม่ที่มีประเด็นหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น การล่มสลายของ Luna, Celsius และประเด็นเรื่อง FTX ทำให้ฟองสบู่ WEB 3.0 ที่กำลังปฏิวัติใหม่นี้มีมิติที่ชัดเจนมากขึ้น หรือมันจะคล้ายกับเหตุการณ์ฟองสบู่ดอทคอม?
ซึ่งประเด็นนี้เราก็ยังตอบได้ไม่แน่ชัดว่า Digital Asset นี้จะเป็นอย่างไรต่อไป? หรือ WEB 3.0 จะมีความผันผวนมากแค่ไหน ? สรุปจาก Session : WEB 3.0 Revolution or Illusion อนาคต WEB 3.0 รุ่งหรือร่วง โดย Guest Speaker ทั้ง 3 ท่านคือ คุณมุขยา พาณิช, คุณสรวิศ ศรีนวกุล และคุณณัฐ เหลืองนฤมิตชัย
คำถามแรก : คิดว่า WEB 3.0 คืออะไรในมุมมองทั้งสามท่าน
ในมุมมองคุณมุขยานิยาม WEB 3.0 ไว้ว่า คือยุคที่ 3 ของ Internet โดยหากย้อนวิวัฒนาการตั้งแต่ WEB 1.0 ที่เป็นลักษณะ Read Only , WEB 2.0 คือ Read+Write แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของ ผู้ใช้งานอย่างเราจึงเป็น Product ของ Big Tech และก็มาถึงยุคของ WEB 3.0 ที่เป็น Read+Write+Own ซึ่งเป็นยุคของผู้สร้างที่สามารถเป็นเจ้าของเนื้อหาได้ ผู้ใช้งานมีลักษณะเป็น Decentralized และ Creator Economy
ส่วนในมุมมองของคุณแมน ซึ่งเป็น Developer มองว่า WEB 3.0 คือยุคที่ทำให้มี Properties เยอะมาก แต่คำถามที่ตามมาก็คือ สิ่งเหล่านี้สำคัญอย่างไรกับเรา? คำตอบก็คือ เราสามารถเป็น Ownership ได้มากขึ้น ต่างจากยุคก่อนๆ ที่เราไม่มีส่วนได้ส่วนเสียใดๆ กับ Big Tech อย่าง Facebook หรือ Twitter เลย แต่ในยุคนี้ เราต้องแคร์สิ่งเหล่านี้มากขึ้น เพราะมันทำให้เกิด Power มากๆ กับ Big Tech เหล่านี้ อย่าง Twitter ที่เป็นแพลตฟอร์มให้ทุกคนมาสร้างคอนเทนต์อย่างอิสระ แต่อยู่ดีๆ ก็สามารถแบน Donald Trump ได้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ Trump ใช้ Twitter ในการเข้าหาคนได้เป็นล้านคน และสามารถ Influent ความคิดและการตัดสินใจของคนได้ Power เหล่านี้ค่อนข้างอันตราย เพราะเป็น Centralized สร้างความเสียหายให้ผู้ใช้งานได้โดยไม่มีการ Warning ใดๆ
มุมมองของคุณณัฐ ซึ่งเป็น Regulator มองว่า WEB 3.0 เหมือนเป็นการพยายามหาคำตอบมานิยามสิ่งที่จะมาต่อยอดจาก WEB 2.0 และเราคิดว่ามันจะเป็นสิ่งที่จะมาแน่ๆ และจริงๆ แล้ว Internet เองก็เกิดขึ้นมานานแล้ว โดยเริ่มเป็นระบบเครือข่ายในช่วงสงครามมาก่อน และเราเรียกสิ่งนั้นว่า World Wide Web ซึ่งก็คือ WEB 1.0 แต่ต้องบอกว่ามันไม่เท่ากับ WEB 3.0 ที่ concern เรื่อง Privacy และมี Information Overloaded ซึ่งคุณณัฐบอกว่าไม่เห็นด้วยและไม่เชื่อในนิยามนี้ที่มองจากผลไปหาเหตุ แต่มองว่านี่คือสิ่งที่จะมาต่อจาก WEB 2.0 มากกว่า
แล้วคิดว่า WEB 3.0 จะเกิดขึ้นจริงไหม? อะไรคือ Tipping Point?
คุณณัฐมีมุมมองว่า ในประเทศไทยเองก็มีหน่วยงานที่ค่อนข้างให้ความสำคัญกับเรื่อง Privacy มากๆ และ Data ก็มีอยู่หลายแพลตฟอร์ม เรื่องส่วนบุคคลที่เป็นประเด็นของคนยุคนี้ก็ได้เข้ามาถ่วงดุลแนวคิดเหล่านี้จากรัฐบาล เคารพในสิทธิและทรัพย์สินมากขึ้น ทำให้หน่วยงานเข้ามาดูแลและให้ก้าวก่ายความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นได้มากขึ้น
คำถามที่คุณแมนชวนฉุกคิดก็คือ เราจะสามารถเชื่อใจหน่วยงานเหล่านี้ได้มากแค่ไหน หน่วยงานเหล่านี้เป็นใคร แล้วถ้ามีการเปลี่ยนการปกครองขึ้นมาเราจะทำอย่างไร ? ซึ่งการเข้ามาของ WEB 3.0 นั้นมาเพื่อตอบโจทย์ว่าไม่ต้องมีใครมาควบคุม ไม่ต้องขอนุญาตใคร และไม่จำเป็นต้องเชื่อใจใคร แต่เราจะสบายใจ เพราะระบบมันทำให้เราเป็นเจ้าของทุกอย่างด้วยตัวเองแล้ว สำหรับคุณแมนจึงมองว่า WEB 3.0 คือเป้าหมายธุรกิจที่มองไว้และอยากไปให้ถึงให้ได้
ด้านคุณมุขยามองว่า WEB 3.0 นั้นเป็น Another Type of Online อย่างหนึ่ง และมันก็เป็นสิ่งที่ Forecast ไม่ได้ เพราะ Innovation เริ่มต้นมาจากจุดเล็กๆ ก่อนเสมอ แต่ละ Industry ก็เติบโตเร็วและยากที่จะเข้าใจ มันอาจถือเป็นเรื่องท้าทายสำหรับ Regulator และการ Educated คนหมู่มาก
WEB 3.0 การแข่งขันของผู้รอด น้ำลดตอผุด ที่อยู่ของคนจริง?
ในมุมมองของคุณแมนมองว่าการจะอยู่ในโลกของ WEB 3.0 ได้ อันดับแรกเราต้องถามตัวเองก่อนว่า เราเข้ามาในอุตสาหกรรมนี้เพื่ออะไร เราอยากจะอยู่จุดไหน เพราะความคิดว่าอยากรวยเร็วนั้นเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง
ในมุมคุณมุขยามองว่าหาก WEB 3.0 จะเกิดขึ้นจริง ก็อย่าเพิ่งกังวลวลว่าเราจะตกขบวนรถหลุดเทรนด์หรือเปล่า (FOMO) เพราะเวลามีของใหม่ เรามักจะกระโจนเข้าไปโดยขาดการพิจารณาอย่างรอบด้าน