QA Engineer Insight : เจาะลึกสายงาน QA Automation หน้าที่สำคัญ ที่ไม่ใช่แค่ตรวจหาความผิดพลาด

Your Opinion
Published: 17.08.22

QA Tester Insight

เพราะหน้าที่ของ QA ไม่ใช่แค่การตรวจเช็คหาข้อผิดพลาดของสินค้าเท่านั้น แต่มีความจำเป็นตรวจหาผลกระทบจากส่วนอื่นๆ ของทีมหรือการแทรกแซงจากบุคคลอื่นๆด้วย

เจาะลึกสายงาน QA Automation ที่ไม่ใช่แค่ต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Coding) แต่ต้องมีความเข้าใจในการเขียนโปรแกรมสำหรับ Automation testing เพื่อตรวจเช็คหาข้อผิดพลาดและป้องกันข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น เพราะหน้าที่ของ QA ไม่ใช่แค่การตรวจเช็คหาข้อผิดพลาดของสินค้าเท่านั้น แต่มีความจำเป็นตรวจหาผลกระทบจากส่วนอื่นๆ ของทีมหรือการแทรกแซงจากบุคคลอื่นๆด้วย นอกจากนี้ QA จะต้องทำงานในรูปแบบของ Agile/Scrum เพื่อที่จะได้ส่งตัวพลิตภัณฑ์ออกไปได้ในขณะที่เหล่า developer เขียนโปรแกรมควบคู่ไป 

โดย Guest Speaker คุณ Watcharapong Wongsuwan หรือคุณอ๊อฟ ดำเนินรายการสัมภาษณ์โดยคุณ Dollada Puangsod หรือคุณการ์ตูน ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการสรรหาบุคลากรในสายงานไอทีจาก Cathcart Technology 

ก่อนอื่นมามาทำความรู้จักคุณอ๊อฟกันสักนิดว่าเริ่มต้นสายงาน QA ได้อย่างไร

ก่อนจะมาเป็น QA Automation คุณอ๊อฟเริ่มจากการเป็น JAVA Developer มาก่อน ซึ่งเป็นการพัฒนาโปรแกรมเพื่อให้คนอื่นมาใช้งาน ตรงนี้เป็นการต่อยอดการพัฒนาโปรแกรม จึงเริ่มต้นเปลี่ยนสายมาทำ QA เพื่อพัฒนาตัว Script ในการทำ Test ตัว Automation

QA สำคัญสำหรับ Project ประเภทไหนบ้าง?

ต้องบอกว่าสำคัญทุก Project ที่ต้องตรวจสอบก่อนออกสู่มือลูกค้า QA สำคัญเพราะหาก Project นั้นๆไม่มี QA แบบที่ Developer สามารถทำเองได้ Project นั้นก็ค่อนข้างเสี่ยง เพราะมุมมองในการทำ Test ค่อนข้างแตกต่างกัน QA ไม่ได้มองในมุมมองของการพัฒนาในเรื่องของฟังก์ชันต่างๆ แต่เป็นการ Test ในมุมมองของ User คนหนึ่ง ที่ได้จำลองว่าผลิตภัณฑ์นี้สามารถทำอะไรได้บ้างและทำอะไรไม่ได้

การเป็น QA ในช่วงเริ่มต้นกับเมื่อมีประสบการณ์ แตกต่างอย่างไรบ้าง?

จากตอนแรกที่เป็น QA Tester Junior มุมมองของการ Test ก็เป็นเพียงแค่การ Test Product ให้เป็นไปตาม Backlog ที่มี แต่เมื่อได้ผ่านประสบการณ์มากขึ้น ก็ได้เข้าใจในมุมมองภาพรวมทั้งหมด ได้ Content Quality ตั้งแต่ต้นก่อนที่จะมาเป็น Product

สิ่งที่ท้าทายการเป็น QA Tester คืออะไร ?

สิ่งที่ท้าทายก็คือการเอา Automation มาใช้ใน Project ต่างๆให้ได้แบบ 100% และอีกเรื่องก็คือการทำงานแบบ Agile Team เพราะวิธี Test ที่เปลี่ยนแปลง จากการนั่งรอให้ Product เสร็จก่อนแล้วค่อย Test มาเป็นทำยังไงที่เราจะ Test Product ได้ไปพร้อมๆกับที่ Developer ทำงานเสร็จ หากเป็นการทำงานแบบ Waterfall ก็คือ Developer ต้องพัฒนาจนเสร็จก่อนแล้ว Tester ค่อยเข้ามา Test ทั้งหมด แต่เมื่อต้องทำงานแบบ Agile QA ต้องมี Automation Script ที่รองรับการ Test เพราะฉะนั้นจึงถือเป็นความท้าทายของ QA มากทีเดียว

แล้ว Manual กับ Automation ต่างกันมากไหม ?

คุณอ๊อฟมองว่าสำคัญทั้งคู่ และหากให้ตัดอะไรออกก็คงไม่ได้ แต่บาง Product ที่ยังไม่พร้อมทำ Automated จริงๆแล้วส่วนหนึ่งอาจมาจากการไม่เข้าใจว่าเราจะเริ่มอย่างไร เพราะบางที่อาจเกิดความรู้สึกกลัวเมื่อเริ่มทำ Automated ไปแล้ว แล้วจะทำอย่างไรต่อกับ Manual? ในบางที่ User เองก็อยากเห็นผลลัพธ์ที่เป็น Manual ซึ่ง QA ก็ต้องทำให้ลูกค้าเข้าใจว่าเมื่อเปลี่ยนแล้ว ผลลัพธ์ยังคงเหมือนเดิม เพียงแต่ลด Cost ลดคนและลดเวลาในการทำ Test การทำ Automated จึงไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องทำให้เห็นภาพและเข้าใจมากที่สุด

Perfect QA ควรเป็นแบบไหน?

ความคิดส่วนตัวจากคุณอ๊อฟคิดว่าต้องเป็นคนที่รู้ว่า “แค่ไหนถึงพอดี” เพราะมี Test ที่ QA ต้องทำจำนวนมหาศาลต่อวัน ซึ่ง QA ที่ดีจะรู้ว่า Test แค่ไหนถึงพอดี เช่น QA ที่ต้องหยิบเฉพาะส่วนสำคัญมากมา Test ถ้าคุ้นเคยกับ Test Pyramid มันจะบอกเราว่าฐานล่างสุดคือ Unit Test ถัดมาคือ Integration Testing และยอดบนสุดคือ Ui Testing 

Tester ที่ดีต้องรู้ว่าระบบประมาณไหน ต้องทำใน Level ไหน ในปริมาณที่เหมาะสมตาม Pyramid และที่สำคัญคือหากรู้เรื่อง Business ด้วย ก็จะยิ่งต่อยอดในสายงานและเห็นภาพรวมมากขึ้น

ในอนาคตสายงาน QA จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงอีกไหม?

คุณอ๊อฟคิดว่าในตอนนี้ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงมากขึ้นแล้ว หลายๆที่เริ่มใช้ Full stack Developer ซึ่งหมายถึง Developer ที่สามารถทำในส่วนอื่นๆได้ด้วย เช่น การ Test, การทำ Infra หรือการเป็น DevOps ในตัว คือในอนาคตการเป็น QA อาจต้องรอบรู้ในเรื่องอื่นๆด้วย อย่างเช่น ตำแหน่ง QA Engineer ที่สามารถทำงาน QA ควบคู่กับ Role อื่นๆได้ด้วย เป็นต้น

สุดท้าย ฝากถึงคนที่อยากเป็น QA

การเป็น QA หรือ Tester ไม่ใช่เรื่องยากเลย ไม่ว่าจะจบจากที่ไหนหรือคณะอะไรมา ก็สามารถเป็นได้ เพราะทุกคนมีความเป็น Tester อยู่ในตัวอยู่แล้ว ทักษะด้านการสังเกต การลองผิดลองถูก หากมีทักษะเหล่านี้ก็สามารถเป็น QA ได้ แต่หากอยากทำให้ได้แบบจริงจังมากขึ้น คำแนะนำก็คือ ศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องของทฤษฎีและการใช้ Tools ต่างๆก็ต่อยอดในสายอาชีพนี้ได้ไม่น้อย

ฟัง Podcast สำหรับ Episode นี้ของเราได้ที่นี่ :

Tech Hustle Thailand EP.05

Captivate EP.05

 

Article by Thanisorn Boonchote

Nice Selfie

Office Manager

Chanatinad Chotiksatis

Thailand