เป็นเวลากว่าสองปีแล้วจากวิกฤตโควิด 19 ที่ถือเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาชั้นดี เปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิต พฤติกรรมผู้บริโภคและการเข้ามาของเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ รวมไปถึงเทรนด์ที่น่าสนใจมากมายที่ได้สร้างโอกาสทางอาชีพและทางเลือกของการใช้ชีวิต
แน่นอนว่าหลังวิกฤตย่อมมีโอกาสเกิดขึ้น และโอกาสใหม่ของปีหลังจากนี้จะยิ่งใหญ่และรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา มาดู 10 Megatrend ที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกยุคหลังโควิด …
1.สงครามเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐและจีนจะยิ่งทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
สหรัฐอเมริกาค่อนข้างกังวลว่าจีนจะแซงหน้าไม่ว่าจะเรื่องเศรษฐกิจหรือเทคโนโลยี เพราะต้องบอกว่าทรัพยากรและประชากรของจีนมีจำนวนเยอะกว่ามาก อีกทั้งจีนก็มีความพร้อมมากกว่าแล้วในหลายๆด้าน ส่งผลให้สหรัฐกีดกันเทคโนโลยีจากจีนมาก ตั้งแต่ยุคสมัยของ Donal Trump มาจนถึงคนปัจจุบันอย่าง Jo Biden ก็ยังคงมีการกีดกันต่อไป
2. อุตสาหกรรม Hi-tech จะแบ่งออกเป็นสองค่ายชัดเจน
นั่นคือค่ายของจีนและสหรัฐอเมริกา เพราะต้องบอกว่าเทคโนโลยีที่กำลังมาในอนาคตอันใกล้นี้ ไม่ว่าจะเป็น AI, Quantum Computing, Blockchain, Cybersecurity, VR ส่วนใหญ่แล้วจีนยังเป็นผู้นำอยู่ และแน่นอนว่าสหรัฐคงยอมให้เป็นแบบนี้ไปตลอดไม่ได้อย่างเด็ดขาด
3. บริษัทใหญ่กำลังย้ายออกจากจีนเพื่อลดความเสี่ยง
ตามนโยบายความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน หรือ Common Prosperity ส่งผลให้รัฐบาลจีนตอนนี้เข้าไปควบคุมดูแลธุรกิจใหญ่ๆ อย่างเช่น Alibaba, Tencent และอีกเรื่องคือจีนยังขาดแคลนพลังงาน Supply ของจีนลดลง หลายๆบริษัทกระจายความเสี่ยง และเริ่มขยายมาที่ ASEAN มากขึ้น เช่น เวียดนาม ที่มีการฟื้นตัวทางเศณษฐกิจดีมาก ส่วนไทยเป็นอันดับ 2 ของญี่ปุ่นและไต้หวัน ที่เป็นธุรกิจเกี่ยวกับชิ้นส่วนยายนต์ และอิเล็กทรอนิกส์
4. Digitalization จะยิ่งมากขึ้นหลังโควิด
ในอนาคตจะยิ่งมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นในหลายภาคส่วน ตัวอย่างที่เห็นชัดและเป็นไปได้ในเร็วๆนี้ เช่น Telemedicine
5. Digital Assets จะได้รับการยอมรับมากขึ้นและเติบโตอย่างรวดเร็ว
คริปโทเคอร์เรนซี่, การระดมทุน ICO, สินทรัพย์ดิจิทัลหรือ NFT จะยิ่งเติบโตและเปิดกว้างมากขึ้นในโลกยุคหลังโควิด อย่างประเทศเอลซัลวาดอร์ ก็ประกาศยอมรับให้ Bitcoin เป็นค่าเงินตามกฎหมายแล้ว ในขณะที่ในประเทศไทยยังมี Regulator และ Speculator ยังคงโดนควบคุมอยู่
6. Decarbonization จะเปลี่ยนรูปแบบของการผลิต
ถือเป็นเทรนด์ของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและการใช้วัตถุดิบที่เน้นเรื่องของความยั่งยืนเป็นหลัก เนื่องจากปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนและทรัพยากรทางธรรมชาติ โดยเฉพาะประเทศฝั่งยุโรปที่มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก ต้องออกกฎในการส่งออก ปริมาณคาร์บอนไดออกไวด์ต้องไม่เกินที่กำหนด และหากเกินก็จะมีการเก็บภาษีสูงถึง 60%
7. ความต้องการสินค้าชีวภาพมีจำนวนเพิ่มขึ้น
สอดคล้องจากข้อที่แล้วเพราะเทรนด์คนรุ่นใหม่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อมและทรัพยการธรรมชาติมากขึ้น จึงต้องการสินค้าชีวภาพมากขึ้น เช่น Etharnol หรือ Biophil เน้นใช้พืชมากขึ้นในการผลิต ไม่ว่าจะเป็น ภาชนะ เครื่องสำอาง หรือยา ที่จะไม่ก่อให้เกิดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถือเป็นโอกาสดีสำหรับประเทศไทย เพราะเรามีพืชธรรมชาติ และวัตถุดิบที่ต้นทุนถูก และเป็นการส่งเสริมรายได้ให้เกษตรกรไทยด้วย
8. ESG ได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้น
Environment Social Governance คือสิ่งที่นักลงทุน ให้ความสำคัญมากขึ้น เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงของบริษัทได้ด้วย ในการพิจารณาว่าองค์กรรับมือกับสิ่งแวดล้อม สังคม และการบริการจัดการได้ดีเพียงใด
9. สัดส่วนประชากรสูงวัยในโลกจะเพิ่มมากขึ้น
เพราะในปีหน้า 2023 นี้ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ แต่ก็ไม่ใช่แค่ไทยประเทศเดียว ถือเป็นความท้าทายของประเทศไทยที่ต้องบริหารจัดการในสภาวะที่จะมีแรงงานน้อยลง เพราะผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
10. ความเหลื่อมล้ำและความตึงเครียดทางการเมืองเพิ่มขึ้น
การเข้ามาของโควิด 19 ทำคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือผู้ที่มีรายได้น้อย เนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงกิจกรรมที่ต้องใช้เทคโนโลยีได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือการเรียนหนังสือ ช่องว่างความเหลื่อมล้ำจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ก่อให้เกิดความตึงเครียดทางด้านการเมืองตามมา แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่ก็เกิดขึ้นทั่วโลกเช่นกัน
Article by Thanisorn Boonchote