AI เข้าใจเรามากขึ้น แต่เรากำลังเข้าใจตัวเองน้อยลงหรือเปล่า

Your Opinion
Published: 01.04.25

นับตั้งแต่ ChatGPT เปิดตัวในปลายปี 2022 แชตบอตที่ขับเคลื่อนด้วย Generative AI ตัวนี้ก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้คนจำนวนมาก ไม่ว่าจะใช้เพื่อค้นหาข้อมูล ตอบคำถาม ช่วยเขียนโค้ด แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว หรือแม้กระทั่งเป็นเพื่อนคุยคลายเหงา ปัจจุบัน ChatGPT มีผู้ใช้งานประจำกว่า 400 ล้านคนต่อสัปดาห์ทั่วโลก
.
แม้จะมีหลักฐานชัดเจนว่า ChatGPT สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและช่วยประหยัดเวลา แต่คำถามที่เริ่มมีน้ำหนักมากขึ้นคือ การใช้งาน AI อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในบริบททางอารมณ์ อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตและความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้ใช้อย่างไร
.
ทีมวิจัยจาก OpenAI และ MIT Media Lab ได้ร่วมกันทำการศึกษาขนาดใหญ่เพื่อหาคำตอบ โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากว่า 40 ล้านครั้ง เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ โดยหนึ่งในหัวข้อสำคัญของการวิจัยคือ ‘การใช้งานเชิงอารมณ์’ (Affective Use) ซึ่งหมายถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับ AI ในลักษณะที่มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยเรื่องส่วนตัว การแสดงออกทางอารมณ์ หรือแม้กระทั่งการใช้ AI เป็นเพื่อนคุยอย่างจริงจัง
.
ผลการทดลองยังพบว่า เมื่อผู้ใช้พูดคุยกับ ChatGPT ด้วยโหมดเสียง (Voice Mode) ที่ออกแบบให้ AI ตอบสนองอย่างมีอารมณ์ร่วม (Engaging Mode) ผู้ใช้จะรู้สึกเหงาน้อยลงกว่าการใช้โหมดที่เป็นกลาง (Neutral Mode) ซึ่งตอบสนองอย่างทางการและไร้ความรู้สึก
.
แม้การมี AI ที่สามารถรับรู้และตอบสนองทางอารมณ์จะดูเป็นความก้าวหน้าครั้งใหญ่ในวงการเทคโนโลยี แต่ทีมวิจัยเตือนว่า หากใช้มากเกินไป โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีแนวโน้มเหงาอยู่แล้ว อาจทำให้สถานการณ์แย่ลงในระยะยาว เช่น มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างน้อยลง หรือรู้สึกโดดเดี่ยวมากขึ้น
.
Kate Devlin นักวิชาการด้าน AI และสังคมศาสตร์จาก King’s College London กล่าวไว้อย่างน่าคิดว่า ‘แม้ผู้ใช้จะไม่ได้ตั้งใจใช้ AI เพื่อจุดประสงค์ทางอารมณ์ แต่ในความเป็นมนุษย์ เราแยกตัวเองออกจากเทคโนโลยีได้ยาก’
การพัฒนา AI ที่ตอบสนองด้านอารมณ์ได้อย่างเป็นธรรมชาตินั้นถือเป็นก้าวที่น่าทึ่งของเทคโนโลยี แต่ในขณะเดียวกัน บทความนี้ก็สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการออกแบบเทคโนโลยีโดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง
.
Cathcart Technologyเชื่อว่าแม้ AI จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ความเข้าใจในผลกระทบด้านจิตใจและสังคมก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม การออกแบบเทคโนโลยีในอนาคตจึงต้องคำนึงถึงความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพและความเป็นมนุษย์

 

ข้อมูลจาก: ผลวิจัยชี้ใช้ ChatGPT แม้การใช้ AI ช่วยจะมีเวลามากขึ้น แต่ใช้บ่อยเกินไป อาจทำให้เหงาขึ้น
AI กับอารมณ์มนุษย์! งานวิจัยใหม่ของ OpenAI และ MIT Media Lab

Office/ Social Media Admin

Palatha Noojeen

Thailand